Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

No cookies to display.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

No cookies to display.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

No cookies to display.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

No cookies to display.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

No cookies to display.

ลูกตื่นบ่อยตอนกลางคืนสาเหตุเกิดจากอะไร และดูแลลูกอย่างไร ?

เด็กนอน

จากที่แต่ก่อนลูกนอนหลับได้ แต่จู่ ๆ ลูกก็ตื่นบ่อยตอนกลางคืนซะงั้น สาเหตุเกิดจาก…

1. ฟันขึ้น มักพบที่อายุประมาณ 4 เดือนถึง 1 ปี  

  • วิธีดูแลลูก : นวดเหงือก ให้กัดยางกัด ป้อนยาแก้ปวดลดไข้เพื่อทุเลาอาการปวด

2. กลัวการพรากจาก มักพบที่อายุประมาณ 6-8 เดือน การนอนหลับถือว่าเป็นการพรากจากอย่างหนึ่งของลูก เพราะขณะหลับตาลูกจะมองไม่เห็นแม่ และเมื่อลูกตื่นนอนขึ้นมาไม่เจอแม่ก็จะร้องไห้

  • วิธีดูแลลูก : เดินเข้าไปปลอบและบอกลูกว่า “แม่อยู่นี่” หาของที่เป็นตัวแทนของแม่ให้ลูกกอดเช่นตุ๊กตาใส่เสื้อของแม่เพื่อให้ลูกรู้สึกว่าแม่อยู่กับลูกตลอดเวลา

3. พาลูกเข้านอนดึก ลูกเล่นเยอะจนง่วงนอนหนักมากจนคุมตัวเองไม่อยู่

  • วิธีดูแลลูก : พาลูกเข้านอนเร็วขึ้น ก่อน 21.00 น.

4.พาลูกเล่นโลดโผนก่อนนอน หรือเล่านิทานเนื้อเรื่องที่ต้องมีการลุ้นระลึกหรือหวาดกลัวก่อนนอน จะทำให้ฮอร์โมนความตื่นเต้นหลั่ง ส่งผลให้ลูกนอนหลับไม่สนิทหรือฝันร้ายได้

  • วิธีดูแลลูก : เลี่ยงการเล่นโลดโผนก่อนนอน เล่านิทานที่เนื้อเรื่องเบา ๆ สอนใจก่อนนอน

5. หิวบ่อยจากการห่วงเล่นจนไม่ยอมกินนม หรือกินนมน้อย พอตอนกลางคืนก็จะหิว

  • วิธีดูแลลูก : ช่วงกลางวันแม้จะกินนมน้อย แต่พยายามป้อนนมบ่อยขึ้น และกินนมในมุมสงบไม่มีสิ่งกระตุ้น

6. ลูกมีพัฒนาการที่เปลี่ยนไป เช่น คว่ำ – หงาย นั่ง คลาน ยืน เดิน ทุก ๆ การที่มีพัฒนาการใหม่ ๆ สมองจะเก็บข้อมูลใหม่ ๆ เยอะขึ้น

  • วิธีดูแลลูก : เข้าใจลูก และให้เวลา เมื่อลูกสามารถทำพัฒนาการใหม่ ๆ ได้ดีซึ่งอาจต้องใช้เวลาปรับตัวราว ๆ 2 สัปดาห์ ก็จะพบว่าการนอนของลูกดีขึ้น

7. ความไม่สุขสบายด้านอื่น ๆ เช่น เสื้อผ้ารัดแน่น อากาศร้อนหรือหนาวเกินไป ผ้าอ้อมเปียกแฉะ อึดอัดแน่นท้อง เสียงดัง แสงสว่างจ้า ที่ส่งผลให้ลูกนอนหลับไม่สนิทและตื่นบ่อย

  • วิธีดูแลลูก : ประเมินว่าตื่นร้องเพราะอะไร และแก้ไขให้ตรงจุด

8. ลูกเจ็บป่วย ไม่สบาย ตื่นมาร้องไห้งอแงร่วมกับอาการทางกายเช่น มีไข้ อาเจียน ถ่ายเหลว กระสับกระส่าย

  • วิธีดูแลลูก : พาลูกหาหมอเพื่อรักษา

เด็กนอน
ในระหว่างที่ลูกอยู่ ร่างกายจะหลั่งสา
รที่ชื่อเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นการเจริญเติบโตในเด็ก การขาดฮอร์โมนตัวนี้ หรือมีการหลั่งฮอร์โมนไม่เพียงพอจะทำให้เด็กเติบโตช้า และตัวเตี้ย หากลูกตื่นตอนกลางคืนบ่อย ๆ จะส่งผลให้ฮอร์โมน หยุดทำงาน หรือ ทำงานไม่ต่อเนื่องนั่นเอง

บทความจาก www.thaipbskids.com
บทความเขียนโดย คุณแม่โบ – NurseKids

You May Have Missed

Translate »
error: Content is protected !!