ความสำคัญของฟันน้ำนม
- ฟันของเด็กจะเริ่มงอก เมื่อพวกเขาอายุราว ๆ หกเดือน ในทางการแพทย์ฟันน้ำนมจะเรียกว่า Deciduous teeth เพราะสุดท้ายแล้ว ฟันเหล่านี้จะหลุดออกเหมือนกับต้นไม้ผลัดใบในฤดูใบไม้ร่วง คนส่วนใหญ่จะเรียกฟันแบบนี้ว่าฟันน้ำนม แต่บางครั้งก็อาจจะเรียกว่าฟันชุดแรกหรือฟันของทารก
ความสำคัญของฟันน้ำนม
ฟันบน | ฟันน้ำนม | ฟันแท้ |
ฟันตัดด้านหน้า | 8-12 เดือน | 7-8 ปี |
ฟันตัดด้านข้าง | 9-13 เดือน | 8-9 ปี |
ฟันเขี้ยว | 16-22 เดือน | 11-12 ปี |
ฟันกรามน้อย ซี่ที่1 | – | 10-11 ปี |
ฟันกรามน้อย ซี่ที่2 | – | 10-12 ปี |
ฟันกราม ซี่ที่1 | 13-19 เดือน | 6-7 ปี |
ฟันกราม ซี่ที่2 | 25-33 เดือน | 12-13 ปี |
ฟันกราม ซี่ที่3 | – | 17-21 ปี |
ฟันบน | ฟันน้ำนม | ฟันแท้ |
ฟันกราม ซี่ที่3 | – | 17-21 ปี |
ฟันกราม ซี่ที่2 | 23-31 เดือน | 11-13 ปี |
ฟันกราม ซี่ที่1 | 14-18 เดือน | 6-7 ปี |
ฟันกรามน้อย ซี่ที่2 | – | 11-12 ปี |
ฟันกรามน้อย ซี่ที่1 | – | 10-12 ปี |
ฟันเขี้ยว | 17-23 เดือน | 9-10 ปี |
ฟันตัดด้านข้าง | 10-16 เดือน | 7-8 ปี |
ฟันตัดด้านหน้า | 6-10 เดือน | 6-7 ปี |
ฟันน้ำนม
หลายๆคนคิดว่าไม่สำคัญจึงปล่อยปละละเลยไม่ดูแล เมื่อผุจนปวดก็จะให้หมอถอนอย่างเดียว คิดว่าเดี๋ยวก็มีฟันแท้ขึ้นมาแทน หน้าที่สำคัญของฟันน้ำนม อย่างแรกคือการทำให้เด็กพูดออกเสียงได้ชัดเจน คงนึกออกถึงคนที่ฟันหลอ ออกเสียง “ฉอเฉือ” แทน “ส.เสือ” การที่เด็กพูดไม่ชัดดูเหมือนจะน่ารักดี แต่หากโดนเพื่อนล้อก็ทำให้หมดความมั่นใจในตัวเองได้ ประการสำคัญต่อมา คือ ฟันน้ำนมเป็นอวัยวะสำคัญในการทานอาหารของเด็กๆ ฟันที่แข็งแรงช่วยให้เด็กทานอาหารได้ดี เพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่สมวัย
ฟันน้ำนมซี่แรก
จะเริ่มโยกหลุดในช่วงอายุ 6-7 ปี เป็นฟันซี่หน้าล่าง ฟันซี่นี้โดยเฉลี่ยขึ้นมาตั้งแต่ลูกอายุ 6 เดือน (อายุ 3-4 เดือนในเด็กที่ฟันขึ้นเร็วหรือ 14-16 เดือนในเด็กที่ฟันขึ้นช้า) จึงเป็นเวลากว่า 6 ปี ที่ฟันหน้าน้ำนมนี้อยู่ในช่องปาก ฟันน้ำนมจะทยอยหลุดไปเรื่อยๆจนอายุ 12 ปี จึงจะหลุดหมดนั่นแสดงว่า ฟันน้ำนมทั้ง 20 ซี่ใช้เวลาผลัดเปลี่ยนกลายเป็นฟันแท้ทั้งหมดในช่วงอายุ 6-12 ปี โดยฟันน้ำนมซี่สุดท้ายที่จะหลุด คือฟันกรามซี่ในสุดของเด็กซึ่งขึ้นเมื่อเด็กอายุประมาณ 2 ขวบครึ่งและจะหลุดเมื่ออายุ 12 ปี เป็นเวลาเกือบ 10 ปีที่ฟันกรามน้ำนมต้องอยู่ในช่องปาก
นอกจากนั้น ฟันน้ำนมยังเป็นทำหน้าที่จองพื้นที่ไว้ให้ฟันแท้ที่จะขึ้นมาแทน หากฟันน้ำนมถูกถอนไปนานก่อนถึงเวลาที่ฟันแท้จะขึ้น ฟันข้างเคียงจะล้มเอียง หรือขยับมาอยู่ในช่องว่างที่ฟันถูกถอนไป ทำให้ฟันแท้เจ้าของพื้นที่จริงไม่มีพื้นที่พอให้ขึ้นในช่องปากได้ ก็กลายเป็นฟันคุด หรือฟันซ้อนเก ต้องรับการรักษากันต่อไป
ขอบคุณบทความดีๆจาก ทพญ. กมลชนก เดียวสุรินทร์
[the_ad id=”49″]
Post Comment